การตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยวิธีราคาทุน (Inventory Costs Method) หลังจากได้อ่านบทความในเว็บต่างๆก็สรุปได้ดังนี้ 1. FIFO เข้าก่อน-ออกก่อน เหมาะสำหรับการตัดสต๊อกที่ใช้สำหรับของที่มีวันที่หมดอายุกำกับไว้ อาจจะเนื่องด้วยพนักงานสต๊อกจะต้องคอยเช็ควันที่หมดอายุบนสินค้าเสมอๆอยู่แล้ว 2. LIFO เข้าหลัง-ออกก่อน เหมาะสำหรับการตัดสต๊อกสินค้าที่ตกเทรนเร็วแบบคอมพิวเตอร์ หรือสินค้าเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำโปรโมชั่นมาล่อตาล่อใจให้ลูกค้าซื้อรุ่นใหม่ๆ ดังนั้นพนักงานก็ต้องตัดสต๊อกตัวที่ใหม่ที่สุดออกก่อน เพราะทิ้งไว้นานไปราคาทุน ณ ปัจจุบันจะไม่ตรงกับราคาที่ขายไป 3. Weighted Average ถัวเฉลี่ยน้ำหนัก เหมาะกับสินค้าที่ไม่มีวันหมดอายุกำกับ และราคาขึ้นลงไม่มากนัก (คอมพิวเตอร์หรือสินค้าเทคโนโลยีจะขึ้นลงทีเป็นหลักร้อยหลักพัน) ซึ่งเหมาะกับการนำมาใช้ทำสต๊อกวัสดุคงเหลือของสำนักงาน ปัญหาของการใช้ Weighted Average หรือการถัวเฉลี่ยราคาทุนต่อหน่วย จะมีอยู่ 2 รูปแบบ 1. แบบ Periodic Inventory เป็นการคิดราคาทุนถัวเฉลี่ยของสินค้าคงเหลือปลายงวด นั่นก็คือ บันทึกการรับเข้าด้วยราคาต่อหน่วยที
สำหรับตัวอย่างนี้จะเป็นการ JOIN ตาราง 2 ตาราง 1. tb_reject_hd 2. tb_reject_desc ซึ่งจะเชื่อมกันด้วยฟิลด์ docno จะเห็นว่าเราสามารถคิวรี่เรียกข้อมูลออกมาได้ตอนที่ยังไม่ใส่ ORDER BY แต่เมื่อใส่ ORDER BY เข้าไป จะหมุนค้างจนหน้าเว็บหยุดทำงาน จากนั้นก็ลองเพิ่ม INDEX ให้กับฟิลด์ docno ในตาราง tb_reject_desc ซึ่งในตัวอย่างนี้จะสร้างตารางใหม่ขึ้นมาจากตารางเดิม เปลี่ยนชื่อเป็น tb_reject_desc_with_index และทำการเพิ่ม INDEX KEY เข้าไป เมื่อทดสอบคิวรี่แบบมี ORDER BY จะเห็นว่าสามารถแสดงผลได้ทันที จากการสังเกตตัวเลขเวลาในการประมวลผล จะเห็นได้ว่าแบบไม่ใช้ ORDER BY จะทำงานเร็วกว่า แต่ในการทำงานส่วนใหญ่ก็มักจะต้องใช้ ORDER BY อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นกรณีค้นหา แบบเรียงลำดับ ตัวอย่างโค้ดคิวรี่ข้อมูลจากตารางที่ Add Index Key แล้ว <!DOCTYPE html> <html lang="en"> <head> <meta charset="UTF-8"> <title>Add Index Key</title> </head> <body> <h2>ORDER BY with INDE